เว็บไซต์เพื่อการศึกษา RFID

 















  ตัวอย่างเทคโนโลยี RFID






RFID ใช้งานในคลื่นความถี่อะไรบ้าง
 

ในปัจจุบันคลื่นพาหะที่ใช้งานกันในระบบอาร์เอฟไอดี จะอยู่ในย่านความถี่ พลเรือน ISM (Industrial-Scientific-Medical) ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่กำหนดในการใช้งานในเชิงการแพทย์ วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม สามารถใช้งานได้โดยไม่ตรงกับย่านความถี่ที่ใช้งานในการสื่อสารโดยทั่วไป โดยมี 4 ย่านความถี่ใช้งาน คือสำหรับคลื่นพาหะที่ใช้กันในระบบอาร์เอฟไอดีอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ย่านใหญ่ๆ ได้แก่        

• ย่านความถี่ต่ำ (Low Frequency: LF) ต่ำกว่า 150 กิโลเฮิรตซ์ (kHz) 


• ย่านความถี่สูง (High Frequency: HF) 13.56/27.125 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) 


• ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency: UHF) 433/868/915 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) 


• ย่านความถี่ไมโครเวฟ (Microwave frequency) 2.45/5.8 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)


       
       
         

ถ้าเปรียบเทียบคลื่นความถี่ที่ใช้งานในแต่ละย่านความถี่ในด้านของระยะการอ่านสามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้ 

ความถี่ระยะที่อ่านได้ 

125 – 134 กิโลเฮิรตซ์ น้อยกว่า 1 เมตร (10 เซนติเมตร ) 

13.56 เมกะเฮิรตซ์ น้อยกว่า 1.5 เมตร (~1 เมตร ) 

860 – 960 เมกะเฮิรตซ์ 2 – 5 เมตร

1 – 100 เมตร ( ป้ายแบบแอ็กทิฟ ) 

2.45 กิกะเฮิรตซ์ น้อยกว่า 1 เมตร ( ป้ายแบบแพสซิฟ ) 

1 – 15 เมตร ( ป้ายแบบแอ็กทิฟ )

       
       
         

ในการใช้งาน 2 ย่านความถี่แรกจะเหมาะสําหรับงานที่มีระยะการสื่อสาร ข้อมูลในระยะใกล้ โดยย่านความถี่ต่ํา (LF) 125 กิโลเฮิรตซ์ และ 134 กิโลเฮิรตซ์ ซึ่งนิยมใช้สําหรับควบคุมการเข้าออกสถานที่และการลงทะเบียนสัตว์ ส่วนย่านความถี่สูง (HF) 13.56 เมกะเฮิรตซ์ นิยมใช้ในบัตรเอนกประสงค์แบบไร้สัมผัสและหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนย่านความถี่สูงยิ่งจะถูกใช้กับงานที่มีระยะการสื่อสารข้อมูลในระยะไกล (UHF ระยะอ่านประมาณ 2-5 เมตร ) เช่น ระบบเก็บค่าบริการทางด่วน ระบบขนส่งสินค้า เป็นต้น เนื่องจากอาร์เอฟไอดี มีหลายระบบและหลายมาตรฐาน พอจะเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างได้ดังตารางข้างล่าง


       
       



Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  24,016
Today:  5
PageView/Month:  66

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com