เว็บไซต์เพื่อการศึกษา RFID

















  ตัวอย่างเทคโนโลยี RFID






 

ป้าย TAG/Transponders ประกอบด้วยอะไรบ้าง

   
         
 

                  โครงสร้างภายในของป้ายจะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ส่วนของไมโครชิป  (Microchip) ที่ทําหน้าที่เก็บข้อมูลของวัตถุเช่นรหัสสินค้าและขดลวดขนาดเล็กซึ่งทำหน้าที่เป็นสายอากาศ (Antenna) สําหรับรับส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุและสร้างพลังงานป้อนให้ส่วนของไมโครชิป โดยทั่วไปตัวป้ายอาจอยู่ในรูปแบบที่เป็นกระดาษ แผ่นฟิล์ม  พลาสติก มีขนาดและรูปร่างต่างๆ กันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่จะนําเอาไปติดและมีหลายรูปแบบเช่น บัตรเครดิต  เหรียญ   กระดุม   ฉลาก สินค้า แคปซูล หรือป้าย เป็นต้น   ทั้งนี้เราสามารถแบ่งป้ายที่มีใช้งานกันอยู่ได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ   ได้แก่  ป้ายแบบแพสทีฟและป้ายแบบกึ่งแพสทีฟ และป้ายแบบแอ็กทีฟ โดยแต่ละชนิดก็จะมีความแตกต่างกันตามการใช้งานราคา โครงสร้างและหลักการทำงาน

                  นอกจากการแบ่งจากชนิดที่ว่ามาแล้ว เราสามารถที่จะแบ่งประเภทของป้ายจากรูปแบบการอ่านและหรือบันทึกข้อมูลได้เป็น 3 แบบ  คือ  ป้ายชนิดที่สามารถถูกอ่านและเขียนข้อมูลได้หลายครั้ง (Read–Write)  ป้ายชนิดที่เขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่อ่านได้อย่างหลายครั้ง (Write-Once Read-Many หรือ WORM)  และป้ายชน ิดอ่านได้เพียงอย่างเดียว  (Read-Only)

                  หรือเรายังสามารถแบ่งชนิดของป้ายตามความถี่ของการใช้งาน  เช่นป้ายย่านความถี่ต่ํา  (LF) 125-134   กิโลเฮิรตซ์   ป้ายย่านความถี่่สูง (HF) 13.56  เมกะเฮิรตซ์   ป้ายย่านความถี่สูงยิ่ง (UHF) 433  และ 900 เมกะเฮิรตซ์ และป้ายย่านไมโครเวฟ  2.4  กิกะเฮิรตซ์ 

 
   
         
 

1 ป้ายอาร์เอฟไอดีชนิดแพสซิฟ   

              ป้ายชนิดนี้ทํางานได้ไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอกใดๆ เพราะภายในป้ายจะมีวงจรกำเนิดไฟฟ้าเหนียวนําขนาดเล็กเป็นแหล่งจ่ายไฟในตัวอยู่ทําให้การอ่านข้อมูลทำได้ไม่ไกลมากนัก ระยะอ่านสูงสุดประมาณ 1 เมตรขึ้นอยู่กับกำลังงานของเครื่องส่งและคลื่นความถี่วิทยุที่ใช้โดยปกติป้ายชนิดนี้มักมีหน่วยความจำขนาดเล็กโดยทั่วไปประมาณ 16 - 1,024 ไบต์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ราคาต่อหน่วยต่ํางไมโครชิปหรือไอซีของป้ายชน ิดแพสซิฟที่มีการผลิตออกมาจะมีทั้งขนาดและรูปร่างเป็นได้ตั้งแต่แบบแท่งหรือแผ่นขนาดเล็กจนแทบไม่สามารถมองเห็นได้ไปจนถึงขนาดใหญ่สะดุดตาซึ่งต่างก็มีความเหมาะสมกับชนิดการใช้งานที่แตกต่างกันโดยทั่วไปโครงสร้างภายในส่วนที่เป็นไอซีของป้ายนั้นก็จะประกอบด้วย  3  ส่วนหลักๆ  ได้แก่ ส่วนของควบคุมการทํางานของภาครับส่งสัญญาณวิทยุ (Analog Front-End) ส่วนควบคุมภาคลอจิก  (Digital Control Unit)  ส่วนของหน่วยความจำ(Memory) ซึ่งอาจจะเป็นแบบ ROM หร ือ EEPROM 

   
          
 

 2  ป้ายอาร์เอไอดีแบบกึ่งแพสซิฟ   

               ป้ายชนิดนี้จะต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ภายนอกทําให้สามารถส่งข้อมูลได้ระยะไกลกว่าป้ายแบบแพสซิฟป้ายเองไม่สามารถเป็นผู้เริ่มต้นส่งสัญญาณการสื่อสารได้ตัวป้ายเองจะรอรับสัญญาณกระตุ้นให้ทํางานจากเครื่องอ่านได้อย่างเดียว 

   
         
 

 3 ป้ายอาร์เอฟไอดีแบบแอ็กทีฟ  

                ป้ายชนิดนี้จะต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ภายนอก เพื่อจ่ายพลังงานให้กับวงจรภายในทํางานโดยป้ายแบบนี้สามารถมีหน่วยความจำภายในขนาดใหญ่ได้ถึง 1 เมกะไบต์ และสามารถอ่านได้ในระยะไกลสูงสุดประมาณ 100 เมตร   ข้อเสียของป้ายแบบนี้คือ มีราคาต่อหน่วยสูง  มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีอายุการใช้งานที่จำกัดตามอายุของแบตเตอรี่ซึ่งจะมีอายุการใช้งานประมาณ  3-7 ปี  

   
         
         

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  24,020
Today:  9
PageView/Month:  73

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com